แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล

ข้อมูลถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรันการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่การติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดนเกิดขึ้นอย่างมากมายทำให้ข้อมูลถูกเผยแพร่และกระจายการใช้งานกันอย่างทั่วถึง โดยปกติแล้ว ข้อมูลสำหรับการนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้นจะได้มาาจาากแหล่งที่มา2 ประเภทด้วยกัน คือ

แหล่งข้อมูลภายใน เป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรทั่วไป ข้อมูลที่ได้มานั้นอาจมาจากพนักงานหรือมีอยู่แล้วในองค์กร เช่น ยอดขายประจำปี ข้อมูลผู้ถือหุ้น รายงานกำไรขาดทุนรายชื่อพนักงานเปิดเผยให้กับบุคคลภายนอกทราบหรือไม่ก็ได้ หากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลักขององค์กรและมีความสำคัญมาก เช่น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่่จะส่งออกสู่ตลาดใหม่ข้อมูลการทดลองแปรรูปสินค้า หน่วยงานนั้นอาจมีการปกปิดไว้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลได้

แหล่งข้อมูลภายนอก เป็นแหล่งข้อมูลที่่อยู่ภายนอกองค์กร โดยทั่วไปแล้ววสามารถนำข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในองค์กรหรือนำมาใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ระบบงานที่สมบูรณ์ขึ้นได้ ข้อมูลลูกค้า เจ้าหนี้ อัตราดอกเบี้ยสถานบันการเงิน กฏหมายและอัตราภาษีของรัฐบาล หรืออาจรวมถึงข้อมูลบริษัทคู่แข่งด้วย ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่่อยู่ภายในบริษัทหรือองค์กรแต่อย่างใด เราสามารถหาข้อมูลจากแหล่งภายนอกนี้ได้จากบริษัทผู้ให้บริการข้อมูลหรือจาากหนังงสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่ออื่นๆ ได้ทั่วไป

วิธีการรวบรวมข้อมูล จากแหล่งที่มาทั้วสองนี้อาจจะได้มา 2 รูปแบบ คือ

1.ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึงข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้สอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาค้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆที่่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลให้ได้ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆ

2.ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึงข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมให้แล้ว บางครั้วอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง ดังตัวอย่างข้อมูลสถิติต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการส่งออกสินค้า สถิติการนำเสนอสินค้า ข้อมูลเหล่านนี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ใช้งานได้ หรือนำเอาไปประมวลผลต่อ