วิธีการรวบรวมข้อมูล

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การหาข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาเก็บรวมกันไว้

1. วิธีการรวบรวมข้อมูล

1) การสังเกต เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการดูข้อมูลที่สนใจอย่างละเอียด และจดจำรายละเอียดข้อมูลที่สังเดต เช่น สังเกตว่า ดอกไม้ชนดนี้มีสีอะไร มีกลีบกี่กลีบ เป็นต้น

2) การสัมภาษณ์ เป็นการสอบถามพูดคุยระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องราวจากอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจดบันทึกข้อมูลที่ได้ หรืออาจใช้วิธีบันทึกเสียงในขณะสัมภาษณ์ก็ได้

3) การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เป็นการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลชั้นรอง เช่น การอ่านหนังสือ การฟังจากผู้รู้ การอ่านข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น แล้วจดบันทึกข้อมูลที่ต้องการ

2. วิธีการจัดการข้อมูล เมื่อรวบรวมข้อมูลได้พอสมควรแล้ว ควรปฏิบัติ ดังนี้

1) ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยดูจากแหล่งข้อมูลที่ได้มา ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เช่น ข้อมูลเรื่องการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ คุณครูใหญ่ย่อมให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่าแม่ค้าที่ขายของหน้าโรงเรียน เพราะคุณครูใหญ่มีหน้าที่ดูแลเรื่องต่างๆ ภายในโรงเรียนจึงมีเอกสารหลักฐาน เพื่อใช้ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล แต่แม่ค้าเล่าเรื่องราวต่างๆ จากความทรงจำจึงอาจทำให้จำข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือบอกข้อมูลที่ผิดพลาดได้

นอกจากนี้ เรายังสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากหลักฐานที่เป็นตัวหนังสือได้ด้วย เช่น หากเราถามข้อมูลเรื่องการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่จากคุณครูใหญ่แล้ว เราควรขออนุญาตคุณครูใหญ่ดูหนังสือหรือเอกสารที่กล่าวถึงเรื่องนี้ จากนั้นตรวจสอบข้อมูลที่ได้ว่าตรงกันหรือไม่ หากข้อมูลตรงกัน แสดงว่าข้อมูลนั้นมีความน่าเชื่อถือ

2) จำแนกข้อมูลเป็นหมวดหมู่อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจดูจากหัวข้อ หรือเนื้อหาของข้อมูล เช่น ข้อมูลเรื่องงานบ้าน ข้อมูลเรื่องงานเกษตร ข้อมูลเรื่องงานประดิษฐ์ เป็นต้น

3) จดบันทึกข้อมูลที่ได้ และเก็บไว้ตามประเภท หือหมวดหมู่ของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้นำมาใช้ได้สะดวก จากนั้นจัดเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มและเก็บไว้ในที่เหมาะสม เช่น เก็บบนชั้นวางของ หรือเก็บในตู้ในเรียบร้อย เป็นต้น

ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูล

คุณครูมอบหมายให้ชาลีและมีนาจับคู่เพื่อสืบค้นข้อมูลที่น่าสนใจ ทั้งคู่สนใจข้อมูลเรื่อง แมวไทย