ความหมายของข้อมูล

ความหมายของข้อมูล

ตัวเราและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราล้วนมีเรื่องราว และข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วหรือเพิ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงต่างๆ นี้เรียกว่า ข้อมูลชีวิติประจำวันของเราจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลตลอดเวลา เช่น เมื่อตื่นนอนตอนเช้า เราจะได้ยินเสียงนาฬิการปลุกหรือเสียงต่าง ๆ เมื่อเรารับประทานอาหารก็จได้รับรสชาติของอาหาร ขณะเดินทางไปโรงเรียนก็จะเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่น ป้ายประกาศ รถ คน และได้กลิ่นควันจากรถ หรือขณะอ่านหนังสือพิมพ์ก็ได้รับข้อมูลตัวอักษรและภาพจากการอ่าน เป็นต้น

ข้อมูลที่เกิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้จดบันทึกไว้หรือรวบรวมข้อมูลไว้ เช่น การเขียนข้อมูลประวัติส่วนตัว การเขียนบันทึกประจำวัน เป็นต้น จะทำให้เราทราบว่า แต่ละวันมีการดำเนินชีวิตอย่างไร ซึ่งตัวเราก็สามารถสร้างข้อมูลในลักษณะนี้ขึ้นได้เช่นกัน เพื่อเป็นข้อมูลส่วนตัวของตนเอง

ความหมายของข้อมูล

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ

ข้อมูลสถิติ หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขเช่นเดียวกับ ข้อมูล แต่ข้อมูลสถิติจะมีจำนวนมากกว่า และสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ และจะแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้ แบบเดียวกับข้อมูล แต่ต้องมีจำนวนมาก เพื่อแสดงลักษณะของกลุ่ม

ตัวอย่าง ข้อมูล ที่เป็นตัวเลขจำนวนนักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคม มี 3853 คนข้อมูล ที่ไม่เป็นตัวเลขจากการสังเกตพบว่านักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคมส่วนใหญ่มาโรงเรียนสายข้อมูลสถิติ ที่เป็นตัวเลขคะแนนโดยเฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้น ม. 6 โรงเรียนระยองวิทยาคมคือ 2.64 ข้อมูลสถิติ ที่ไม่เป็นตัวเลขจากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองพบว่าร้อยละ 61.5 มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจโรงเรียนในเรื่องของการดูแลระเบียบวินัย

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เราสนใจศึกษา จำแนกได้ดังนี้

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติหรือสถานการณ์ของสิ่งต่างๆ

ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ

ข้อมูล คืออะไร

ข้อมูล คือข่าวสารรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องการจัดเก็บ เพื่อที่จะเรียกข้อมูลมาอ้างอิงหรือแก้ไขได้ในภายหลังตามวัตถุประสงค์ของข้อมูล อาจจะมีทั้งชนิดที่เป็นข้อความ(Text) ตัวเลข(Numbers) วันที่(Dates) หรือแม้กระทั่งรูปภาพ (Pictures)

ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินงานที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วและเก็บข้อมูล ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสม อาจมีทั้งประเภทตัวเลข ข้อความ วันที่ รูปภาพ เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน เป็นต้น

ข้อมูล หมายถึง ข้อความจริงที่อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง โดยไม่มีผู้ใดเคยเก็บมาก่อน

2. ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ได้จากผู้ที่เก็บรวบรวมไว้แล้ว

ข้อมูล (Data) คือ ข้อความ หรือ ตัวเลขที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อมูลจะบอกเกี่ยวกับสภาพการณ์หรือสิ่งที่ปรากฏขึ้นข้อมูลจะมีสภาพความเป็นข้อมูลอยู่เช่นนั้น ไม่ว่าจะมีการนำไปใช้หรือไม่ (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ลักษณะของข้อมูล คือ เป็นข้อมูลดิบ และยังไม่มีเนื้อหา ข้อมูลอาจจะปรากฏในรูปแบบใดก็ได้ อาจจะใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ก็ได้ (Groff & Jones, 2003) ข้อมูลอาจจะเป็นสัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียง นอกจากนั้น สัลยุทธ์ สว่างวรรณ (2546) ได้อธิบายว่า ข้อมูล เป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการรวบรวม หรือป้อนเข้าสู่ระบบ อาจใช้แทนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในองค์การ หรือใช้แทนลักษณะสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะถูกนำไปดำเนินการให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้

ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งต่อไปก็จะถูกนำมาประมวลผลนั่นเอง หรืออาจจะเรียกว่าเป็นวัตถุดิบ เมื่อข้อมูลถูกนำมาประมวล เช่น การจัดเรียง การแยกกลุ่ม จัดกลุ่ม การเชื่อมโยง หรือการคิดคำนวณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์

ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (facts) ที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ในหมู่บ้าน ราคาของพืชผักและผลไม้ต่างๆ ในหมู่บ้าน เป็นต้น หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่น การศึกษา หรือ อาชีพของคนในหมู่บ้าน เป็นต้น

ข้อมูล (Data) คือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจศึกษา เช่น ความสูง น้ำหนัก รายได้ ฯลฯ ตัวอย่าง เด็กหญิงนิดาสูง 150 เซนติเมตร นายพีระพลหนัก 65 กิโลกรัม นายวุฒิชัยมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท เด็กชายบุญมาสอบได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน เป็นต้น

ในทางสถิติ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจะต้องมีจำนวนมาก เพื่อเป็นการแสดงถึงลักษณะของกลุ่มหนึ่งหรือส่วนรวม สามารถนำไปเปรียบเทียบและตีความหมายได้ ข้อเท็จจริงเพียงหน่วยเดียวไม่ถือว่าเป็นข้อมูลสถิติ เช่น ความสูงของนักเรียนคนหนึ่งเป็น 160 เซนติเมตร ไม่ถือว่าเป็นข้อมูลสถิติ แต่ถ้าเป็นการวัดความสูงของนักเรียนทั้งชั้นหรือทั้งกลุ่มเป็นข้อมูลสถิติ (Statistical Data) ถ้าเป็นตัวเลขหรือข้อความของหน่วยเดียว แต่บันทึกติดต่อกันเอาไว้เป็นระยะหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ถือว่าเป็นข้อมูลสถิติ เช่น รายได้ของนางสาววิภาพรในสัปดาห์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสถิติ