ประชาคมอาเซียน


ความรู้ประชาคมอาเซียน


อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) 

ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศอื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งจะมีผลกระทบกับการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีผลกระทบกับการประกอบอาชีพและการค้าการลงทุน และสังคม ประชาชนจึงต้องมีการเตรียมตัว ให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.crc.ac.th/ASEAN/

ภาพจาก เว็บไซต์ womenepic.com

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาเซียน


 



6 อาการป่วยฉุกเฉินวิกฤต “รักษาฟรี” (Info)

     ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บ หรือ มีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บ หรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0-4 นาที


       
       ทั้งนี้ อาการที่สามารถเข้ารับสิทธิรักษาฟรีได้จะต้องมีอาการดังนี้
       
       1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียก หรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
       
       2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
       
       3. ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และ ลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือ ร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ
       
       4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
       
       5. อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
       
       6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก
       
       ทั้งนี้ หากมีความเห็นขัดแย้งระหว่างญาติผู้ป่วยและโรงพยาบาลว่าเป็นฉุกเฉินวิกฤตหรือไม่ สามารถสอบถามโดยตรงที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สายด่วน 1669 ซึ่งได้จัดทีมแพทย์ประจำการให้คำปรึกษาเพื่อการคัดแยกให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูล จาก : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ



        ลักษณะภัย
สภาวะความแห้งแล้งผิดปกติของอากาศเป็นเหตุให้ความชื้นในอากาศ และในดินน้อยลง มีผลต่อปริมาณน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตรขาดแคลน มีโอกาสเกิดไฟป่า

        ข้อควรจำ
น้ำสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต น้ำเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผลผลิตทางการเกษตร

      ข้อควรปฏิบัติ

  • เตรียมกักเก็บน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคให้เพียงพออย่ารีรอมิฉะนั้นจะไม่มีน้ำให้กักเก็บ
  • ขุดลอกคู คลอง และบ่อน้ำบาดาล เพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ
  • วางแผนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดห้วงภัยแล้ง
  • การใช้น้ำเพื่อการเกษตร ควรใช้ในช่วงเช้า และเย็นเพื่อลดอัตราการระเหยน้ำ
  • การใช้น้ำจากฝักบัวเพื่อชำระร่างกายจะประหยัดน้ำมากกว่าการตักอาบ
  • กำจัดวัสดุเชื้อเพลิงรอบที่พัก เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่า และการลุกลาม
  • เตรียมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินเพื่อการขอน้ำบริโภค และการดับไฟป่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ