สาระสำคัญการอบรมและศึกษาดูงาน ณ
ประเทศญี่ปุ่น |
|
|
|
เค้าโครงความเป็นอิสระของท้องถิ่นในญ่ปุ้น
ระบบการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่นเป็นระบบสองชั้น ประกอบด้วย จังหวัด และเทศบาล
แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสภา
และผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจหน้าที่มากกว่ารัฐบาลกลางสถานภาพของการปกครองตนเองของท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น
มาตรา ๙๒ บัญญัติให้กฎ
ระเบียบเกี่ยวกับองค์กรและการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกำหนดไว้เป็นกฏหมายที่สอดคล้องกับหลักความเป็นอิสระของท้องถิ่น
มาตรา ๙๓ บัญญัติให้มีการจัดตั้งสภาท้องถิ่นตามกฎหมาย
และผู้บริหารท้องถิ่นมีตามที่กฏหมายบัญญัติ โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
มาตรา ๙๔ บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิที่จะจัดการกับทรัพยสิน กิจการ
และบริหารงานตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๙๕ บัญญัติว่า
การที่จะมีการออกกฎหมายพิเศษเป็นการเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับเสียงข้างมาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แบ่งออกเป็นจังหวัด และเทศบาล โดยมีจำนวน ๔๗ จังหวัด และ ๑,๗๗๗ เทศบาล
นอกจากนี้ยังมีการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษคือ โตเกียวมหานคร
ซึ่งมีเขตปกครองตนเองย่อย (ward) อีก ๒๓ แห่
สรุปสาระสำคัญการอบรมและศึกษาดูงาน ณ
ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒
| |
สรุปสาระสำคัญการอบรมและศึกษาดูงาน
ณ ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ ๑๖
– ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ วันที่ ๑๗
พฤษภาคม ๒๕๕๒
คณะอบรมฯ
ได้ศึกษาวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ณ วัดอาซะกุซ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่
และมีประเพณีการแห่ฉลองสิ่งศักดิ์สิทธ์ของชุมชนบริเวณรอบ ๆ วัด
วันที่ ๑๘
พฤษภาคม ๒๕๕๒

คณะอบรมฯ
เดินทางเข้ารับการอบรม ณ สถาบันการปกครองตนเอง (Local Autonomy
College) สังกัดกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร
ซึ่งเป็นสถาบันอบรมสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่น โดยมีนายโทชิโอ โอฮิชิ
อธิการสถาบันมาให้การต้อนรับ หลังจากนั้นศาสตราจารย์คันนิชิ ชิชิโด ได้บรรยายหัวข้อ
ความเป็นอิสระของท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น :
สถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต (Local Autonomy in Japan : Current
Situation & Future Shape 2009)
มีสาระสำคัญดังนี้ เค้าโครงความเป็นอิสระของท้องถิ่นในญ่ปุ้น
ระบบการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่นเป็นระบบสองชั้น ประกอบด้วย จังหวัด และเทศบาล
แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสภา
และผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจหน้าที่มากกว่ารัฐบาลกลางสถานภาพของการปกครองตนเองของท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น
มาตรา ๙๒ บัญญัติให้กฎ
ระเบียบเกี่ยวกับองค์กรและการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกำหนดไว้เป็นกฏหมายที่สอดคล้องกับหลักความเป็นอิสระของท้องถิ่น
มาตรา ๙๓ บัญญัติให้มีการจัดตั้งสภาท้องถิ่นตามกฎหมาย
และผู้บริหารท้องถิ่นมีตามที่กฏหมายบัญญัติ
โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
มาตรา ๙๔ บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิที่จะจัดการกับทรัพยสิน
กิจการ และบริหารงานตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๙๕ บัญญัติว่า
การที่จะมีการออกกฎหมายพิเศษเป็นการเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับเสียงข้างมาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แบ่งออกเป็นจังหวัด และเทศบาล โดยมีจำนวน ๔๗ จังหวัด และ ๑,๗๗๗ เทศบาล
นอกจากนี้ยังมีการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษคือ โตเกียวมหานคร
ซึ่งมีเขตปกครองตนเองย่อย (ward) อีก
๒๓ แห่ง สภาท้องถิ่น
จำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นผันแปรตามจำนวนประชากร
-จังหวัด สูงสุด ๑๒๗ คน ต่ำสุด ๓๗ คน
เทศบาล สูงสุด ๙๒ คน ต่ำสุด ๖ คน
มีวาระดำรงตำแหน่ง ๔ ปี
ผู้สมัครสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องเป็นพลเมืองของท้องถิ่นนั้นและมีอายุไม่น้อยกว่า
๒๕ ปี
สมัยประชุมมี ๔ ครั้งต่อปี ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและสภาท้องถิ่น
เป็นความสัมพันธ์เชิงนิติบัญญัติโดยฝ่ายบริหารจะเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต่อสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
และการแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด รองนายกเทศมนตรี
ผู้รับผิดชอบด้านการคลังของจังหวัด/เทศบาลนคร และคณะกรรมการการศึกษา
ต้องเสนอให้สภาท้องถิ่นให้ความเห็นชอบการจัดองค์การของจังหวัดและเทศบาล
-รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองนายกเทศมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายกเทศมนตรีโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น
มีวาระดำรงตำแหน่ง ๔ ปี
-ผู้อำนวยการสำนัก/ฝ่าย/ส่วนเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายกเทศมนตรีระบบเลือกตั้งท้องถิ่น
-ผู้ว่าราชการจังหวัด/นายกเทศมนตรี/สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
-คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องมีอายุ ๒๐
ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ส่วนผู้สม้ครเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดมีอายุตั้งแต่ ๓๐
ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยมีระยะเวลาหาเสียงเลือกตั้ง ๑๗ วัน
-คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ต้องมีอายุ ๒๐
ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเช่นกัน ส่วนผู้สมัครเลือกตั้งนายกเทศมนตรีมีอายุตั้งแต่ ๒๕
ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยมีระยะเวลาหาเสียง ๕ – ๑๔
วันขึ้นอยู่กับประเภทของเทศบาล
-คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมีอายุ ๒๐
ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ส่วนผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมีอายุ ๒๕
ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ระยะเวลาหาเสียงเลือกตั้ง ๕ – ๙ วัน
ขึ้นอยู่กับประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระบบข้าราชการส่วนท้องถิ่น
-หลักการสำคัญของกฎหมายบริการสาธารณะท้องถิ่น (Local Public
Service Law) คือ ความเสมอภาค การปรับให้เข้ากับสถานการณ์ทางสังคม
และระบบคุณธรรม
-หน้าที่ของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
-หน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด
-หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพ เช่น การรักษาความลับ การไม่หยุดงานประท้วง
มีความเป็นกลาง เป็นต้น
-การลงโทษทางวินัย
-สภาพการทำงาน
-เงินเดือนของข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีกำหนดไว้ในกฎระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เงินเดือนถูกกำหนดจากการพิจารณาระดับเงินเดือนของข้าราชการส่วนกลาง
และองค์กรอื่นของรัฐรวมถึงภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน
-ในระดับจังหวัด
คณะกรรมาธิการด้านบุคคลสามารถเสนอแนะให้มีการปรับเงินเดือนได้ถ้าจำเป็น การคลังท้องถิ่น
สัดส่วนรายได้ระหว่างรัฐกับท้องถิ่นเท่ากับ ๓:๒
และสัดส่วนรายจ่ายระหว่างรัฐกับท้องถิ่นเท่ากัน ๒:๓
การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น
ประเด็นการปฏิรูปได้แก่
-การทำให้เกิดความชัดเจนระหว่างบทบาทของส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
-การยกเลิกระบบการมอบหมายหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-การทบทวนการเข้ามามีเกี่ยวข้องของรัฐบาลกลาง
-การส่งเสริมการมอบอำนาจหน้าที่
-ปรับลดเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์การ
-การปฏิรูปการคลังท้องถิ่น (ปี ๒๕๔๔ – ๒๕๔๙)
โดยการให้มีการจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
การปรับระบบเงินอุดหนุนท้องถิ่นการควบรวมเทศบาล
-จำนวนเทศบาลในปี ค.ศ.๑๘๘๙ เท่ากับ ๗๑,๓๑๔ เทศบาล
จำนวนเทศบาลในปี ค.ศ.๒๐๐๙ เท่ากัน ๑,๗๗๗ เทศบาล
-ทั้งนี้เป็นผลมาจากการรวมเทศบาลหลายแห่งเข้าด้วยกัน
ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจ การรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ
การตอบสนองความต้องการทีหลากหลายของประชาชน การขยายตัวของชุมชน
และการปรับการบริหารเทศบาลให้มีประสิทธิภาพ การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นสู่การกระจายอำนาจ
-ทำบทบาทระหว่างรัฐในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นให้เกิดความชัดเจน
-การจัดทำแผนส่งเสริมการกระจายอำนาจเพื่อการปฏิรูปการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
-จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการกระจายอำนาจในปี ค.ศ.๒๐๐๗
ประกอบด้วยกรรมการ ๗ คน
แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา ตัวแบบระบบภาค
Doshusei
-เตรียมการจัดทำตัวแบบภูมิภาค
ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นแบบภาค
ซึ่งจะมีบทบาทในการดูแลในภาพกว้างของภาคนั้น การกำหนดมาตรฐาน
การปรับแก้ไขความแตกต่างกันของรายได้ระหว่างเทศบาลในภาค
โดยที่เทศบาลจะทำหน้าที่ในการบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อประชาชนในท้องถิ่น
-มีเป้าหมายที่จะนำตัวแบบนี้มาใช้ภายใน ๑ ทศวรรษ งานเลี้ยงรับรอง
ภายหลังการบรรยาย
ในตอนค่ำ
สภาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยนายมิชิฮิโร คายาม่า
ประธานกรรมการบริหารของสภาฯ ได้เลี้ยงต้อนรับคณะอบรมฯ
และได้สนทนาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นญี่ปุ่นและประเทศไทย วันที่ ๑๙
พฤษภาคม ๒๕๕๒
คณะอบรมฯ ได้เดินทางไปสถาบันบัณฑิตเพื่อนโยบายศึกษา (National
Graduate , Institue For Policy Studies, GRIPS)
และได้รับการต้อนรับจากศาสตราจารย์ฮิโรชิ อิคาว่า ในฐานะตัวแทนของสถาบันฯ
และบรรยายในหัวข้อ การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นในญิ่ปุ่น
(Administrative
Reform Of Local Government in Japan) สรุปสาระสำคัญดังนี้เค้าโครงการปกครองท้องถิ่นในญี่ปุ่น
-โครงสร้างของการปกครองท้องถิ่นญีปุ่น
-ระบบสองชั้น ได้แก่ จังหวัด และเทศบาล (นคร เมือง และตำบล)
-จำนวน จังหวัด ๔๗ จังหวัด เทศบาลในเดือนเมษายนปี ๒๐๐๔ (เทศบาลนคร
๓๑๐๐,เมือง ๑๘๗๒ และเทศบาลตำบล ๕๓๓ และเขตพิเศษ ๒๓)
-เดือนเมษายน ๒๐๐๙ เทศบาล ๑๗๗๗ นคร ๖๙๕ เมือง ๘๐๒ และเทศบาลตำบล ๑๙๒
เขตพิเศษ ๒๓) · บทบาทของการปกครองท้องถิ่นในญี่ปุ่นo ค่าใช้จ่ายมวลรวมและการคลังท้องถิ่น§ ค่าใช้จ่ายของท้องถิ่นคิดเป็นร้อยละ
๑๒ ของ GDP§ สัดส่วนค่าใช้จ่ายของการปกครองท้องถิ่นประมาณ
๓ เท่าของรัฐบาลกลางo หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น§ เป็นหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น· มาตรการส่งเสริมการควบรวมเป็นมาตรการภายใต้สภาวะการกดดันด้านรายได้ของท้องถิ่น
การควบรวมทำให้การบริหารและการคลังท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น
และทำให้การให้บริการสาธารณะมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยจำนวนเทศบาลมีลดลงจากการควบรวม
เหตุผลที่ควบรวมo ขอบข่ายกิจกรรมของประชาชนขยายออกไปมากขึ้นo อำนาจหน้าที่ของเทศบาลใหญ่ขึ้นเริ่อย
ๆ ทำให้ขนาดของเทศบาลต้องใหญ่ตามไปด้วย· มีปัญหางบประมาณ
และภาวะหนี้สินของท้องถิ่นไม่มีงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่
ภาวะหนี้สินจากการกู้ยืมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประมาณ ๑๓๙
หมื่นล้านเย็นในปีงบประมาณ ๒๐๐๖
เพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจการของท้องถิ่นเนื่องจากการถูกตัดภาษีและร่ายได้ลดลงอย่างไรก็ตาม
ก็มีประชาชนไม่พอใจเพราะการมีขนาดใหญ่ขึ้น
ทำให้ประชาชนติดต่อกับเทศบาลลำบากการควบรวมจึงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐบาลมีแรงจูงใจโดยมีงบประมาณสนับสนุนเช่น
งบก่อสร้างอาคารใหม่ เป็นต้น เทศบาลทิ่อยู่ในเขตชนบท
รัฐบาลจะจัดสรรเงินให้แก่ท้องถิ่นเพิ่มเติม (งบรัฐจัดสรรท้องถิ่น)
แต่ท้องถิ่นใหญ่เช่นโตเกียวไม่มีสิทธิได้รับจัดสรรเงินรัฐจัดสรรนี้ภารกิจตำรวจเป็นความรับผิดชอบของจังหวัด
การควบรวมเทศบาลจึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขนาดและประชากรที่แตกต่างกันทำให้รายได้ที่มีก็มีความแตกต่างกันด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงนำไปสู่การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ที่รับผิดชอบมากทำให้มีรายจ่ายจำนวนมากในการดำเนินภารกิจเหล่านี้ระหว่างท้องถิ่นกับรัฐบาลกลางเป็น
๕๙ ต่อ ๔๒ โดยรายจ่ายส่วนมากร้อยละ ๑๗.๕
เป็นด้านสวัสดิการสังคมร้อยละ ๑๗.๕ รายจ่ายบริหารทั้วไปหรือ ๘.๓สำหรับด้านการศึกษา
คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๕ ส่วนรายจ่ายด้านการศึกษาร้อยละ ๑๐.๑ และด้าน ๒๑.๒
ท้องถิ่นสามารถออกพันธบัตร
และมีหนี้ ๕ ล้านล้านเย็น หรือ ๕
เท่าของรัฐบาลกลางทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการมาหลายครั้งแล้วเพื่อแก้ไขปัญหา
ในงบประมาณของรัฐบาลกลาง
ประมาณร้อยละ ๓๐ เป็นการจ่ายคืนเงินกู้ การออกพันธบัตร
แต่ยังโชคดีที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ประมาณร้อยละ ๑ – ๒ เท่านั้น ภาษีรัฐจัดสรรให้ท้องถิ่นได้แก่
ภาษีนิติบุคคล ภาษีป้าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา ยาสูบ ภาษีเงินได้ ระบบการคลังท้องถิ่น
-ภาษีท้องถิ่นจัดเก็บเองได้แก่ ภาษีผู้อยู่อาศัย คล้ายภาษีเงินได้ของประชาชน
และภาษีนิติบุคคล ภาษีสำหรับเทศบาล ได้แก่ ภาษีอหังสาริมทรัพย?
-ภาษีท้องถิ่นรัฐจัดสรรให้ท้องถิ่น
ซึ่งเป็นงบที่ต้องรับความเห็นชอบจากรัฐบลกลางเพราะเกี่ยวข้องกับการกู้เงิน
-รายได้จากการออกพันธบัตร · การออกพันธบัตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอดีต
จังหวัดต้องขออนุมัติจากกระทรวงฯ และเทศบาลต้องขออนุมัติจากจังหวัด
ทั้ง อบจ. และเทศบาลต้องขออนุญาตจากจังหวด
ในปัจจุบันนี้ให้เป็นอำนจหน้าที่ของท้องถี่น ปัจจุบัน อปท
เทศบาลไม่ต้องขออนุมัติจากหน่วยใด· มาตรการในการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น-การลดจำนวนบุคลากรท้องถิ่น
โดยลดลงร้อยละ ๗.๘ (ประมาณ ๒,๘๐๐ คน) ในปีงบประมาณ ๑๙๙๙ – ๒๐๐๔
และร้อยละ ๖.๙ (ประมาณ ๒,๓๐๐ คน ในปีงบประมาณ ๒๐๐๕ –
๒๐๐๙ (มีอยู่ประมาณ ๔ ล้านคน หรือข้าราชการท้องถิ่นประมาณ ๓๒ คนต่อประชากร ๑๐๐๐
)-การลดเงินเดือนบุคลากรท้องถิ่น
๖ร้อยละ ๗ สำหรับผู้บริหารระดับสูง ร้อยละ ๕
สำหรับผู้บริหารระดับกลาง และร้อยละ ๓ สำหรับเจ้าหน้าที่)· การจ้างเอกชนให้มาดำเนินการแทน
เช่น การรักษาความปลอดภัย การตรวจสอบถนน การรับโทรศัพท์ เป็นต้น· การลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างของท้องถิ่น· การจัดทำบัญชีเงินเดือนใหม่ให้เหมาะสม· ปรับภาษีรัฐให้เป็นภาษีท้องถิ่นเพื่อให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น การจัดองค์การและกฎหมายพื้นฐานของสภาท้องถิ่น
สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นจำนวนสมาชิกขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่น
-สภาจังหวัด มีสมาชิก ๔๐ – ๑๒๐ คน (สภานครโตเกียวมี ๑๓๐ คน)
เทศบาลนคร ๒๖ – ๙๖ คน-เทศบาลเมือง/ตำบล
๑๒ – ๒๖ คนวาระการดำรงตำแหน่ง
๔ ปีมีข้อห้ามมิให้เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นอื่นในระหว่างดำรงตำแหน่งรวมถึงการห้ามเป็นข้าราชการทุกประเภทสมาชิกสภาท้องถิ่นห้ามมีส่วนได้เสียในสัญญาที่มีการกระทำระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบริษัท หน้าที่สำคัญของสภาท้องถิ่น
-การบัญญัติข้อบัญญัติท้องถิ่น
-การพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
-การกำหนดอัตราภาษีท้องถิ่น
-การให้ความเห็นชอบการทำสัญญาจ้าง
-การอนุญาตการใช้ที่ดินสาธารณะ
-การตรวจสอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้มีสิทธิเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นคือ
ผู้ว่าราชการ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาท้องถิ่นคณะกรรมาธิการสภาประกอบด้วย
คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการกิจการสภา และคณะกรรมาธิการพิเศษ
ในช่วงบ่าย
ศาสตราจารย์คิโยทาก่า โยโกมิชิ บรรยายในหัวข้อ
การสร้างสรรค์และการจัดทำนโยบายเชิงกลยุทธ์ (Creative &
Strategic Policy Formation)
สรุปสาระสำคัญดังนี้ กระบวนการจัดทำนโยบาย
วงจรนโยบาย (PDS Plan Do
See)
-ปัจจุบันเป็น PDCA Plan Do Check Action)
-วงจรนโยบายประกอบด้วย -การค้นหาปัญหา-การแสวงหาข้อมูล/การสร้างตัวแบบ-การสร้างทางเลือก-การนำไปสู่โครงการ/งบประมาณ-ประเมินโครงการก่อนเริ่มงาน-ตัดสินใจ
-การปฏิบัติงาน-ประเมินผล ดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมด เป็น ไฟล์เต็ม << คลิก
ขนาดไฟล์ 20 MB
อ่านสรุปการสัมมนาทั้งในไทยและญี่ปุ่น ทั้งหมด <<
คลิก ขนาดไฟล์ 6.29 MB | | |
|
|