ความเชื่อ ๑. “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” คือ หลัก ๒. “ปัญญา – ความกล้าหาญ - ความเพียรทน” คือ พลัง ๓. “การเรียนรู้ คือ หัวใจ เป้าหมาย คือ การพึ่งตนเอง” คุณค่าหลัก (Core Values) ๑. เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นจิตสำนึกสำคัญที่เป็นรากฐานของการใฝ่เรียนใฝ่รู้ โดยเชื่อว่าสังคมวันนี้เป็นสังคมความรู้ จำเป็นต้องมีความรู้และใช้ความรู้ในการดำเนินชีวิต อาชีพการงานทุกประเภท จำเป็นต้องมีความรู้ในการสร้างฐานเศรษฐกิจ สังคม เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม ๒. การสร้างสรรค์ (Creativeness) การเรียนรู้ไม่ใช่การบริโภคความรู้หรือท่องจำความรู้ (มือสอง) แต่เป็นการสร้างความรู้ (มือหนึ่ง) สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นนวัตกรรมที่ต้องพัฒนารูปแบบ เนื้อหา และกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับปรัชญาและวิสัยทัศน์ ด้วยยุทธศาสตร์ที่มีพลังสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อาจารย์และนักศึกษาก็เรียนรู้แบบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ความรู้ใหม่ ด้วยการวิจัยและพัฒนา ก่อให้เกิดนวัตกรรมเพื่อชีวิตของตนเอง ชุมชนและสังคม ๓. อัตลักษณ์และเอกภาพ (Identity and Unity) อัตลักษณ์ในความแตกต่าง (Identity in
Difference) สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นสถาบันที่มี ๔. จิตสาธารณะและความร่วมมือ (Public Mind and Cooperation) สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์เพื่อส่วนรวม ส่งเสริมให้นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องมีจิตอาสา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน วงศาคณาญาติและพวกพ้อง มีความเป็นธรรม ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ส่งเสริมความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน การแบ่งปันและบริการมากกว่าการสั่งสมและรอรับ มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาท้องถิ่น ๕. บูรณาการและผนึกพลัง (Integration and Synergy) สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน จัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้งเอาชุมชนเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาที่ไม่แยกจากกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาแบบรอบด้าน ที่ผสานเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ผนึกพลังทุนท้องถิ่น ทุนทรัพยากร ทุนทางสังคม ทุนทางปัญญากับทุนสากล ผนึกพลังผู้คนในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อเรียนรู้และจัดการชีวิต จัดการทรัพยากร จัดการชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้และมีความสุข ๖. ปัญญาและการปฏิบัติ (Wisdom and Practice) สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน จัดการเรียนรู้ที่ทำให้รู้จักเชื่อมโยงข้อมูลให้เป็นความรู้ นำความรู้ไป สู่การปฏิบัติจนเกิดปัญญา อันเป็นหลักการที่มีคุณธรรมเพื่อการดำเนินชีวิตและการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ไม่อิงแอบอยู่แต่กับอำนาจและเงิน เพราะเชื่อว่า ชุมชนจนปัญญามากกว่าจนเงินหรือทรัพยากร การเรียนรู้ ให้เกิดปัญญา จึงจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์พัฒนาใหม่ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ๗. เครือข่ายและความร่วมมือ (Networking and Partnership) การสร้างเครือข่ายเป็นวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ที่เน้นความสัมพันธ์บรรยากาศที่ดีในการทำงานและ ๘. ความไว้วางใจและธรรมาภิบาล (Trustworthiness and Good Governance) สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นสถาบันที่ได้รับความไว้วางใจ ความเชื่อถือ เพราะความมีคุณธรรมและความเป็นมืออาชีพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและความเรียบง่าย พอดี พอประมาณ สร้างมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบ (benchmark) มีธรรมาภิบาลที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้ในเวลาเดียวกันส่งเสริมคุณธรรม ความเป็นมืออาชีพ ธรรมาภิบาลให้นักศึกษาและชุมชน ๙. ความสัตย์ซื่อและความสมดุล (Integrity and Sense of Proportion) มีความสัตย์ซื่อต่อตนเองและต่อผู้อื่น เป็นแบบอย่างของความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ทำในสิ่งที่พูดไว้เขียนไว้ มีความพอดีในวิธีคิดวิธีปฏิบัติ ไม่สุดขั้วจนรุนแรง ส่งเสริมให้มีความเที่ยงธรรม (fairness) คิดดี ทำดี มีสุขภาวะที่ดี มีความสมดุลในการทำหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม ๑๐. พึ่งตนเองและมีความสุข (Self - Sufficient and Happiness) สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นแบบอย่างของสถาบันที่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เพื่อการพัฒนาระบบและการดำเนินงาน มีกรอบเกณฑ์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจน ทำให้สถาบัน นักศึกษา ชุมชน พึ่งพาตนเองได้และมีความสุข |
เกี่ยวกับ ม.ชีวิต >