ค่าคงที่ (Constant)
ในการใช้ข้อมูลที่มีค่าซ้ำกันอยู่บ่อยๆ
และค่าข้อมูลนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตลอดการใช้งานในโปรแกรม ควรเก็บข้อมูลนั้นไว้ในตัวโปรแกรม
และประกาศตัวแปรให้เป็นแบบค่าคงที่
การประกาศตัวแปรให้เป็นแบบค่าคงที่และกำหนดค่าคงที่เก็บไว้ ใช้รูปแบบคำสั่งดังนี้

เช่น การประกาศตัวแปรชื่อ Pi เพื่อกำหนดค่าของ p ให้เป็นค่าคงที่ เขียนคำสั่งได้เป็น
การประกาศค่าคงที่
อาจกำหนดข้อมูลไว้ด้วย โดยใช้รูปแบบดังนี้
เช่น Const Pi As Double = 3.14159265358979
หรือประกาศแบบข้อมูลด้วยอักขระแทน เช่น
Const P# =
3.14159265358979
Const Responese$ = “Yes”
การประกาศค่าคงที่จะทำในบริเวณส่วนประกอบตอนต้นของโปรแกรมเช่นเดียวกับการประกาศตัวแปร
ดังตัวอย่างในภาพ 1
ภาพ 1 การประกาศค่าคงที่
เมื่อประกาศตัวแปรใดให้เก็บค่าคงที่ไว้แล้ว
จะประกาศค่าใหม่โดยใช้ประโยคคำสั่งกำหนดค่าไม่ได้ จะเกิดความผิดพลาด “Constant cannot be the target of anassignment” ขึ้น ดังภาพ 2
ภาพ 2 ความผิดพลาดเมื่อกำหนดค่าคงที่
1. ใช้ค่าคงที่
ค่าคงที่ที่ประกาศไว้แล้วสามารถเรียกใช้ต่อไปได้ เช่น นำไปคำนวณ เปรียบเทียบหรือแสดงค่า
2. การแสดงค่าคงที่
ทำได้เช่นเดียวกับตัวแปรอื่นๆ
เช่น ใช้กล่องข่าวสาร ดังภาพ 3
ภาพ 3 การแสดงค่าของ Pi
เมื่อให้โปรแกรมทำงาน คลิกที่ปุ่ม Button1 ได้ผลลัพธ์ดังภาพ 4
ภาพ 4
การแปลงค่าข้อมูล
ค่าของข้อมูลที่เก็บไว้แบบหนึ่ง
อาจแปลงเป็นอีกแบบได้ดังนี้
1.
การแปลงค่าตัวเลขให้เป็นค่าข้อความ (String)
ใช้ฟังก์ชั่น Cstr(expression) (ย่อมาจาก Convert to String) Expression หมายถึง นิพจน์
หรือตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวเลข
ตัวอย่าง Pay$ = Cstr(123.456)
จะทำให้ Pay$ มีค่าเป็น “123.456”
2.การแปลงค่าข้อความ (String)
ให้เป็นค่าตัวเลข
ใช้ฟังก์ชั่น Vall (String) (ย่อมาจาก Value)
ตัวอย่าง My_Spy% = Val(“ 007 ”)
จะได้ค่าของ My_Spy% เท่ากับ7
ถ้าเป็น Null String จะได้ผลลัพธ์เป็น 0 เช่น
Result = Val(“ ”) Value ของ Null String
จะได้ค่าของ Result เป็น 0
3. การแปลงค่าข้อความ (String) ให้เป็นค่าตัวอักษร (Character)
ใช้ฟังก์ชั่นดังต่อไปนี้ CChar(String) (ย่อมาจาก Convert to Char)
ตัวอย่าง Dim CT As Char
CT = CChar(“MIT”) จะได้ค่าของ
CT เท่ากับ “M”
4. การแปลงค่าตัวเลขจากแบบหนึ่งไปเป็นแบบอื่น
ใช้ฟังก์ชั่นดังต่อไปนี้
CBool(expression) แปลงผลที่ได้จาก expression
ให้เป็นแบบ Boolean
ตัวอย่างดังในภาพ 5
ภาพ 5 การใช้ฟังก์ชัน CBool( )
CByte(expression)
แปลงผลที่ได้จาก expression ให้เป็นแบบ Byte ตัวอย่างดังภาพ 6

ภาพ 6 การใช้ฟังก์ชัน CByte( )

สำหรับฟังก์ชั่นการแปลงค่าตัวเลขอื่นๆ
มีดังตาราง 1
ตาราง
1 ฟังก์ชันการแปลงค่าตัวเลข
ฟังก์ชัน
|
แปลงให้เป็นแบบ
|
CSng(expression)
CDbl(expression)
CDec(expression)
Clnt(expression)
CLng(expression)
CSByte(expression)
CShort(expression)
CUint(expression)
CULng(expression)
CUShort(expression)
CObj(expression)
|
Single
Double
Decimal
Integer
Long
SByte
Short
UInteger
ULong
UShort
Object
|
5. การแปลงค่าข้อมูลแบบ Date
ใช้ฟังก์ชั่น CDate(String) แปลง String ให้เป็นแบบ Date
ตัวอย่างดังในภาพ 7

ภาพ 7 การใช้ฟังก์ชัน CDate(String)